แนวคิดทฤษฎีปรัชญา



แนวคิดทฤษฎีและปรัชญา
Tyler อ้างถึงใน อารี สัณหฉวี , 2523 : 14 กล่าวว่า
Tyler มีปรัชญาหรือแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรคือ การมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงตัวผู้เรียน (Learner can be change) ไม่ใช่พยายามจะไปเปลี่ยนแปลงสังคมพยายามศึกษาข้อมูลต่างๆนำมาประกอบในการพิจารณาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรให้ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะกระทำได้
Hilda Taba อ้างถึงใน อารี สัณหฉวี , 2523 : 15 กล่าวว่า
Hilda Taba มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรคล้ายกับของ Tyler มาก แต่ก็มีข้อละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไปสรุปได้ 11 ประการดังนี้
1.ส่วนประกอบของหลักสูตร
2.การศึกษาข้อมูลเพื่อนำมาเป็นเครื่องกำหนดเกณฑ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
3.วัตถุประสงค์
4. เกณฑ์ในการกำหนดวัตถุประสงค์
5. การเลือกเนื้อหาสาระและการรวบรวมพินิจ
6.เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกเนื้อหาสาระ
7. ปัญหาเกี่ยวกับการรวบรวมจัดเนื้อหาสาระ
8.การจัดประสบการณ์การเรียน
9.ลำดับขั้นของการพัฒนาหลักสูตร
10. ยุทธวิธีการสอน
11.การประเมินผล
(พัฒนาหลักสูตรและการสอนมิติใหม่ , 2523 : 14 - 15)
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
ทฤษฎีเกี่ยวกับวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะนำไปสอน
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรจะกล่าวถึงหลักในการเลือกเนื้อหา การจัดเนื้อหาลงในระดับชั้นต่างๆ เซเลอร์ (J.Galen Saylor ) และอเล็กซานเดอร์( William M. Alexander ) ได้สรุปสูตรทั่วไปสำหรับการพัฒนาหลักสูตรแต่ละวิชามีดังนี้
1 พิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดว่าจะสอนวิชาอะไร
2 ใช้เกณฑ์บางอย่าง( เช่นความยากง่าย ความสนใจเป็นต้น )ในการเลือกเนื้อหาสำหรับกลุ่มผู้เรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
3 วางแผนวิธีการสอนที่เหมาะสม เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรอบรู้ในเนื้อหาที่เลือกมาเรียน
รูปแบบและทฤษฎีที่มองหลักสูตรกว้างกว่าวิชาและเนื้อหาวิชา
มีรูปแบบและทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร เป็นจำนวนมากที่มองหลักสูตรกว้างกว่าที่หมายถึงวิชาและเนื้อหาวิชา ได้แก่
- ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
- ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
- รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเคอร์
- รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวี
- รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ สสวท.
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
ไทเลอร์ อ้างถึงใน บุญชม ศรีสะอาด , 2546 : 64
ไทเลอร์ ได้เสนอรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรและจะต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
ขั้นที่ 2 การเลือกประสบการณ์การเรียน
ขั้นที่ 3 การประเมินผล
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
ทาบา อ้างถึงในบุญชม ศรีสะอาด , 2546 : 65
ทาบา ได้ให้ความเห็นว่า หลักสูตรทั้งหลายจะต้องมีองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการได้แก่
1. จุดประสงค์
2. เนื้อหาวิชา
3. กระบวนการเรียนการสอน
4. การประเมินผล
และได้กล่าวถึงลำดับขั้นในการพัฒนาหลักสูตรไว้ 8 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องการและความจำเป็นต่างๆของสังคมมาเป็นแนวทางในการกำหนดจุดประสงค์
ขั้นที่ 2 กำหนดจุดประสงค์ของการศึกษา
ขั้นที่ 3 คัดเลือกเนื้อหาที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน
ขั้นที่ 4 จัดระเบียบ ลำดับ และขั้นตอนของเนื้อหาที่คัดเลือกมา
ขั้นที่ 5 คัดเลือกประสบการณ์การเรียน
ขั้นที่ 6 จัดระเบียบ ลำดับและขั้นตอนของประสบการณ์การเรียน
ขั้นที่ 7 ประเมินผล
ขั้นที่ 8 ตรวจสอบความคงที่และความเหมาะสมในแต่ละขั้นตอน
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเคอร์
เคอร์ อ้างถึงในบุญชม ศรีสะอาด , 2546 : 68 – 69
เคอร์ ได้เสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร โดยมีจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้มาจากแหล่งข้อมูล3แหล่งได้แก่
1.ระดับพัฒนาการ ความต้องการ และความสนใจของนักเรียน
2.สภาพปัญหา และความต้องการของสังคม
3.ธรรมชาติของเนื้อหาของการเรียนรู้
นำจุดมุ่งหมายมาคัดเลือกและจัดอันดับนำรูปแบบการจำแนกจุดประสงค์ทางการศึกษาของ บลูม และคณะ ที่แบ่งจุดประสงค์เป็น 3 ด้าน คือ
- ด้านพุทธิพิสัย
- ด้านจิตพิสัย
- ด้านทักษะพิสัย
นำจุดประสงค์เหล่านี้มาเป็นแนวทางในการเลือกและจัดมโนทัศน์และหลักการ และนำไปสู่การจัดรายวิชาในแบบต่างๆ
ขั้นต่อไปได้แก่การจัดประสบการณ์การเรียนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆเช่น ความพร้อมของผู้เรียน วิธีสอนเป็นต้น
ขั้นสุดท้ายคือการประเมินผล
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ เลวี
เลวี อ้างถึงใน บุญชม ศรีสะอาด , 2546 : 70 – 71
การพัฒนาหลักสูตรของ เลวี แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
1.ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตร คือ การเลือกจุดมุ่งหมาย เลือกเนื้อหาวิชา และเลือกกิจกรรมการเรียนการสอน
2.ขั้นเตรียมวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอน
3.ขั้นดำเนินการ คือ การเตรียมจัดระบบงาน ฝึกอบรมครู ปรับปรุงระบบการสอน ประสานงานกับฝ่ายวิชาการ ควบคุมคุณภาพปรับปรุงและนำมาใช้ใหม่
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร สสวท.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)ได้ทำการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา และประกาศใช้ตั้งแต่ปี2519
สื่อการสอนทุกอย่างที่ได้พัฒนาขึ้นจะผ่านการกลั่นกรองของคณะทำงานตรวจสอบ เพื่อให้มีความถูกต้องก่อนทดลองสอนในโรงเรียนต่างๆได้ทำการอบรมครูในโรงเรียนที่ทดลองสอนอย่างเข้มข้นเพื่อให้เข้าใจปัญหาและจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน วิธีสอน ตลอดจนการวัดและประเมินผล
(บุญชม ศรีสะอาด , 2546: 63 – 73 )