บทที่ 4 ผลการวิจัย



จากการลงพื้นที่ไปศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนอนุบาลสงขลาสามารถวิจัยรายละเอียดได้ดังนี้
บทที่ 4 ผลการวิจัย
ประวัติความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนโดยสังเขป
             โรงเรียนอนุบาลสงขลาเปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่
1 กรกฎาคม  2486 โดนใช้สถานที่อาคารเรียนของโรงเรียนวรนารีเฉลิม  โดยเริ่มกาศึกษาระดับอนุบาล  ..2497 ย้ายมาเรียนที่ปัจจุบัน  เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล  ปีที่ 1  ถึงประถมศึกษาปีที่ 4  และโรงเรียนได้เจริญพัฒนามาเป็นลำดับ  .. 2521 เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่  5 – 6 โอนไปสังกัดกองการประถมศึกษากรมสามัญ  .. 2523 การรถไฟแห่งประเทศไทย อนุมัติให้ใช้ที่ดิน 2 ไร่ 1 งาน เพื่อขยายบริเวณโรงเรียน และในปีนี้ได้โอนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  ..2551 โรงเรียนได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ  ปัจจุบันโรงเรียนอนุบาลสงขลา จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ( ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6   มีนักเรียน 2382 คน ห้องเรียน 60 ห้องเรียน )

ปรัชญา วิสัยทัศน์ และจุดมุ่งหมายของโรงเรียน
ปรัชญา  : การศึกษา พาชีวิต สัมฤทธิ์ผล 
วิสัยทัศน์
: นักเรียนโรงเรียนอนุบาลสงขลาเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีคุณภาพตามมาตรฐาน การเรียนรู้ระดับสากล มีศักยภาพเป็นพลเมืองโลก
จุดมุ่งหมายของโรงเรียน 
: ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และมีความเป็นสากล  พัฒนาแหล่งเรียนรู้  และเทคโนโลยีที่ทันสมัย  พัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง )

บริบท/ลักษณะของชุมชนหรือท้องถิ่นที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน
            โรงเรียนอนุบาลสงขลา ตั้งอยู่ในเขตชุมชนหนาแน่น เขตเทศบาลนครสงขลา ประชากรในเขตเทศบาลมีจำนวน 83000 คน นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 85 ศาสนาอิสลามร้อยละ 13 และศาสนาอื่นๆ ร้อยละ 2  สภาพทางสังคมเป็นสังคมเมือง ชุมชนมีความสัมพันธ์กับสถานศึกษาค่อนข้างดี ผู้ปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือกับโรงเรียน สภาพชุมชนมีการแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มเยาวชน อยู่ในระดับปานกลาง )

การพัฒนาหลักสูตรจากหลักสูตรแกนกลาง 51 สู่หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนอนุบาลสงขลา
              การพัฒนาหลักสูตร ทางโรงเรียน ก็มีการประมวลหลักสูตรให้มีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง โดยการนำเข้าที่ประชุมพร้อมทั้งดูถึงความพร้อมของสถานศึกษาจากนั้นทางโรงเรียนก็ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เพื่อดูว่า ผู้ปกครองมีความต้องการอะไรให้เกิดขึ้นกับบุตรหลานของตนเองบ้าง  เมื่อโรงเรียนได้ดูถึงความพร้อม ดูองค์ประกอบต่างๆทั้งใน        ด้านของความพร้อมของโรงเรียน และความต้องการของผู้ปกครอง ว่าผู้ปกครองมีความต้องการในด้านใดเป็นพิเศษ  จากนั้นจึงนำข้อเสนอที่ผู้ปกครองเสนอต่อสถานศึกษา จะประชุมสรุปผลในที่ประชุม  โดยขอความร่วมมือจากผู้รู้ในตัวหลักสูตรสถานศึกษา มาให้คำแนะนำพร้อมทั้งแจ้งให้ทุกฝ่ายได้รับทราบ

ในแต่ละชั้นปีมีรายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่โรงเรียนจัดให้แก่ผู้เรียน  
            ทางโรงเรียนได้มีการจัดการเรียนในด้านของภาษาขึ้น ก็คือภาษาอังกฤษ ซึ่งจะมีครูที่เป็นเจ้าของภาษามาสอนเองโดยจัดให้ระดับชั้น ป.5 – 6 ซึ่งมีการเรียนการสอน 2 คาบต่อสัปดาห์ต่อห้อง ส่วนในด้านเทคโนโลยี จะมีครูที่ชำนาญในด้านนี้มาสอนโดยตรง ซึ่งสอนให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น  ในวิชาเพิ่มเติม จะเป็นในด้านของภาษา คือ มลายู ซึ่งเป็นความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนเอง ที่อยากให้ลูกหลานได้ศึกษา  ก็เพราะเนื่องจากจังหวัดสงขลานี้ มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย และมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลาเป็นจำนวนมาก และให้สอดคล้องกับการเป็นโรงเรียนนำร่องด้านการเรียนศูนย์อาเซียนศึกษา (ASEAN Study  Centre ) โดยในการศึกษาภาษาอังกฤษและภาษามลายูนี้ ได้จัดให้ผู้เรียน เพื่อต้องการให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ระดับสากล สอดคล้องรับกับวิสัยทัศน์ของทางโรงเรียน

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง 8 ด้าน และสมรรถนะสำคัญทั้ง 5 ด้าน
             ในส่วนของสมรรถนะสำคัญเพิ่มเติมโรงเรียนอนุบาลสงขลา ไม่ต้องการที่จะเพิ่มเติมคุณลักษณะในด้านใด เพราะคิดว่าคุณลักษณะและสมรรถนะ ที่มีอยู่ในหลักสูตร
51 ดีอยู่แล้วและทางโรงเรียนของเรายังคิดอีกว่า  หลักสูตรที่จัดมาให้นั้นมีมากจนเกินไป จนทำให้ผู้เรียนไม่สามารถปฏิบัติได้หมด  และยังมีผลต่อผู้เรียนในการประเมินคุณลักษณะ และสมรรถนะสำคัญในตอนจบแต่ละช่วงชั้นของนักเรียนอีกด้วย

กิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียน
             สำหรับกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดให้กับนักเรียน มีด้วยกันสามกิจกรรม ก็คือ กิจกรรมตลาดนัดเศรษฐกิจพอเพียง จะจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักการใช้ความสามารถในด้านการคิด   กิจกรรมต่อไป คือ การเข้าวัดทุกวันพระ ก็จะจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนมีความรัก ความศรัทธาในด้านศาสนาของตนเอง  โดยหมุนเวียนกันในระดับชั้น ป.
4-ป.6  และกิจกรรมสุดท้าย คือ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์  เพื่อฝึกให้นักเรียนมีจิตสาธารณะ

นโยบาย ในการนำหลักสูตรไปใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน
             ในส่วนของการนำหลักสูตร เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียน ก็จะมีการนำหลักสูตรมากลั่นกรองก่อน แล้วนำไปทดลองใช้สักในระยะหนึ่ง  ถ้าไม่เกิดผลดี ก็นำมาปรับปรุงและกลั่นกรองใหม่หลายๆครั้ง  จนได้ตัวหลักสูตรที่ดีที่สุด  ซึ่งตัวหลักสูตรดังกล่าวจะต้องเป็นที่พอใจ ทั้งแก่นักเรียน ผู้ปกครอง และสถานศึกษาเอง

กระบวนการประเมินผลหลักสูตร
 ในการประเมิน  มีการประเมินผลหลักสูตรเหมือนโรงเรียนทั่วๆไป โดยมีการสอบปลายภาค  และการสอบประเมินเพื่อแยกเด็กเก่งและเด็กอ่อน เวลาเลื่อนระดับชั้น  ก็จะมีการสอบวัดความรู้ระดับช่วงชั้น หรือ o-net  มีการสอบวัดความรู้ระดับสากล หรือว่า NT ( National Test ) โดย สพฐ.  มาประเมิน

 วิธีการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่เรียนอ่อนและเรียนเก่ง
 สำหรับทางโรงเรียนอนุบาลสงขลา ของเรา ก็ได้จัดแยกเด็กที่เรียนเก่ง และเรียนอ่อน แยกออกจากกัน โดยเด็กที่เรียนเก่งนั้น  ก็จะอยู่ในห้อง 1 ส่วนเด็กอ่อนก็จะอยู่ห้อง 2  และส่วนการจัดการเรียนการสอนนั้นก็จะเน้นการทำกิจกรรมในห้องเด็กเรียนอ่อนมากกว่า  ซึ่งในส่วนของเด็กอ่อนนี้จะทำกิจกรรมเป็นเวลา 3 ชั่วโมง  โดยที่เด็กเรียนเก่งนั้น จะทำกิจกรรมแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น

กิจกรรมสำหรับเด็กที่เรียนเก่ง
ทางโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมติวให้กับเด็กเก่ง เพื่อที่จะให้เด็กประเภทนี้ได้ใช้ทักษะความรู้ในการไปแข่งขันทักษะทางด้านวิชาการระดับโลก ซึ่งทางโรงเรียนอนุบาลสงขลานี้ ได้มีการติววิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาภาษาไทย ก็ได้มีเด็กไปคว้ารางวัลระดับโลกมา และทางโรงเรียนอนุบาลสงขลาก็สนับสนุนกิจกรรมในส่วนนี้อย่างดีเสมอมา

ข้อคิดสำหรับนักศึกษาครู เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
ในด้านของบุคลิกภาพ  การแต่งกาย  ความเป็นอยู่  ความประพฤติ  มารยาท  ความมีน้ำใจ  มีใจรักในสถาบัน และรักในวิชาชีพครู ปลูกฝังให้คนรุ่นหลัง  ให้รักในอาชีพครู  และปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม  และต้องทำด้วยความเต็มใจและจริงใจ  ต้องมีความเป็นครูในทุกๆเรื่อง   ต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา  และต้องมีความขยันในด้านการอ่าน